เบญจรงค์ เป็นชื่อเรียกเครื่องถ้วยชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ประมาณรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องปั้นเคลือบที่ เขียนลายโดยวิธีลงยา (enamel) เป็นงานที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ในรัชสมัยจักรพรรดิซวนเต๊อะ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๖๙-๑๙๗๘) ราชวงศ์หมิง มีการผลิตครั้งแรกในแคว้นกังไซ มณฑลเจียงซี (ที่ไทยเรียกว่า กังไส) และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในรัชสมัยจักรพรรดิเฉิงฮั่ว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๐๘-๒๐๓๐)
การเขียนลาย โดยวิธีลงยาดังกล่าว ใช้สีตั้งแต่ ๓ สีขึ้นไป มีชื่อเรียกในภาษาจีนต่างๆ กัน ส่วนที่เรียกว่า เบญจรงค์ เป็นการเรียกตามแบบไทย ในความหมายตามคำเรียกหมายถึง การเขียนลวดลายลงบนงานที่ผลิตด้วยสี ๕ สี โดยทั่วไปเป็นสีดำ สีขาว สีเหลือง สีแดง และสีเขียว (หรือสีคราม) ในรัชสมัยจักรพรรดิวั่นลี่ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๑๖ -๒๑๖๒) มีการผลิตเครื่องเคลือบแบบเบญจรงค์มากที่สุด การผลิตทำติดต่อมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง (ปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ. ๒๑๘๗-๒๔๕๔)
ความสวยงามของเครื่องเคลือบเบญจรงค์ ทำให้เป็นที่ต้องการของคนไทย จึงมีผู้สั่งทำ เครื่องเคลือบชนิดนี้จากจีน โดยกำหนดรูปภาชนะเป็นแบบไทย เขียนลายเป็นตัวอย่างลงบน ภาชนะแบบต่างๆ เช่น ชามฝา โถ ชุดน้ำชา กระโถน โถปริก จานเชิง ฯลฯ ส่งเป็นตัวอย่างให้ช่างจีนเขียน ลวดลาย กำหนดสีตามความนิยมของคนไทย เครื่องเคลือบเบญจรงค์ที่ทำจากจีน จึงให้ความ รู้สึกในความเป็นของไทย ยิ่งกว่าเครื่องเคลือบจีน ชนิดอื่นๆ แต่ช่างจีนซึ่งไม่คุ้นเคยกับลวดลายแบบ ไทย การเขียนจึงไม่เป็นไปตามแบบที่ต้องการ แม้กระนั้นก็ยังเป็นที่นิยมของคนไทยในสมัยนั้น
เครื่องเบญจรงค์ชนิดที่มีความละเอียด มีความประณีตในการผลิต น่าจะสั่งเข้ามา เพื่อใช้ในราชสำนัก หรือเจ้านายข้าราชการชั้นสูง มักผลิตจากแหล่งจิ่งเต๋อเจิ้น ใกล้เมืองหลวงจีน เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตที่มีชื่อเสียง และมีฝีมือดี ส่วนชนิดที่รองลงมา มักสั่งทำจากแหล่งผลิตในมณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลกวางตุ้ง เป็นที่คาดกันว่า ในช่วงที่เครื่องเคลือบแบบเบญจรงค์ เป็นที่นิยมกันในสมัยอยุธยานั้น ไทยน่าจะสั่งเครื่องเคลือบ โดยให้เคลือบรองพื้นเป็นสีขาวสีเดียว เพื่อให้ช่างไทยเขียนลวดลายตามต้องการ แล้วส่งกลับไปให้ช่างจีนตกแต่งลงยา แล้วเผาอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้น่าจะทำเฉพาะงานที่ ต้องใช้ในราชสำนักหรือเจ้านายหรือผู้มีสถานภาพสูงทางสังคมเท่านั้น
“เบญจรงค์” แปลว่า ห้าสี ชามเบญจรงค์ จึงหมายถึง ชามที่เขียนสีห้าสี แต่ที่ปรากฎใช้สอย มีสีตั้งแต่ 3 สี ขึ้นไปจนถึง 8 สี สีหลักได้แก่ แดง เหลือง ขาว ดำ เขียว หรือน้ำเงิน และสีอื่นๆ ได้แก่ ม่วง แสด น้ำตาล ฯลฯ
“ลายน้ำทอง” จัดเป็นเครื่องถ้วยประเภทเดียวกับเครื่องถ้วยเบญจรงค์ แต่มีการเพิ่มสีทอง หรือแต้มสีทอง ระหว่างสีเบญจรงค์ หรือเขียนเส้นตัดสีทองเริ่มมีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ได้รับความนิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 2 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลวดลายของเครื่องถ้วยเบญจรงค์ที่เป็นที่นิยม กัน ได้แก่ ลายเทพนม-นรสิงห์ หรือเทพนม-ครุฑ เขียนบนพื้นดำ แทรกด้วยลายกนกเปลว ลวดลายอื่นที่พบได้แก่ ราชสีห์ กินรี ฯลฯ ด้านในของเครื่องถ้วยเคลือบสีเขียว ส่วนรูปแบบได้แก่ จาน ชามฝา และโถทรงสูง เป็นต้น
ร้านศิลปะไทยและนักสะสมที่เป็นลูกค้าของทางร้านทุกท่าน ต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของเบญจรงค์ ลายน้ำทอง เครื่องลายคราม และของเก่าของโบราณต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นตัวแทนสะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบรรพบุรุษ คุณค่าและงานศิลปะที่บรรจงวาดอย่างพิถีพิถันลงบนเครื่องกระเบื้องดินเผา ที่นำผ่านข้ามน้ำข้ามทะเลมาตั้งแต่โบราณ จึงมีความประสงค์ที่จะรับซื้อเครื่องกังไสลายคราม เบญจรงค์ และของเก่าของโบราณต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และเก็บรักษาสืบต่อไป
สำหรับท่านเจ้าของของโบราณ เครื่องกังไส เครื่องลายคราม เบญจรงค์ ลายน้ำทอง เครื่องถมทอง เครื่องเงิน กระเพาะปลา พระบูชา พระเครื่อง เฟอร์นิเจอร์มุก ของสะสมมีค่าต่าง ๆ ที่ต้องการขายหรือแบ่งปันให้กับเรา ทางร้านศิลปะไทยยินดีรับซื้อของเก่าของโบราณดังกล่าว โดยให้ราคาที่สูงกว่าท้องตลาด และมีบริการรับซื้อของโบราณถึงที่บ้านของท่าน โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย รับซื้อได้ทั่วประเทศและชำระเงินเป็นเงินสดทันที ไม่จำกัดวงเงิน โดยร้านศิลปะไทย จะเก็บรักษาชื่อเสียงของเจ้าของเดิมไว้เป็นความลับ
เจ้าของร้านเป็นผู้ซื้อเองโดยตรง ดังนั้นจึงรับประกันได้ว่าของโบราณที่ท่านได้แบ่งขายให้กับเรา จะได้ราคาดีที่สุดเกินกว่าท้องตลาด ยินดีต้อนรับนายหน้า พาเราไปซื้อ เรามีค่าตอบแทนอย่างงามให้ทันที
รับซื้อของโบราณ รับซื้อของเก่าสะสม รับซื้อวัตถุโบราณ จัดทำพิพิธภัณฑ์ ให้ราคาสูงที่สุด รับซื้อเครื่องลายคราม
รับซื้อกังไส รับซื้อเบญจรงค์ รับซื้อเครื่องเงิน รับซื้อขันเงิน รับซื้อพานเงิน รับซื้อเงินถมทอง รับซื้อกระเพาะปลา
ซื้อง่าย จ่ายเงินสด ไม่กดราคา มีหน้าร้านชัดเจน เราให้ราคาดีที่สุดในตลาด ให้บริการอย่างมืออาชีพ
รักษาความลับของลูกค้า ยินดีให้คำปรึกษา
- อ้างอิง
-
- : มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองบัญชาการกองทัพเรือ
- : โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว